ร้านชุดไทย พาหุรัตดอทคอม

ฉลองพระองค์ผ้าไทย สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

ฉลองพระองค์ผ้าไทย สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงฉลองพระองค์ด้วยชุดผ้าไทย ร่วมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562

ช่วงเช้า ทรงฉลองพระองค์ไทยศิวาลัย ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูน ประเภทยกใหญ่พิเศษ ลายพิกุลประยุกต์ แต่งเชิงพิเศษ สีชมพูกลีบบัว เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงสะพักจักรี

หลังจากสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสุทิดาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์เป็นชุดไทยศิวาลัย ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนประเภทยกใหญ่พิเศษลายพิกุลประยุกต์สีโอลด์โรส เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์

ช่วงค่ำ ทรงฉลองพระองค์ไทยบรมพิมาน ตัดด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูน สีน้ำเงินกรมท่า ประเภทยกใหญ่ ยกดอกด้วยไหมเงิน ต่ำไหมสีกรมท่า ไหมยืนดำลายโคมพุ่มข้าวบิณฑ์ (ชื่อลายตามลายผ้าในพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) แต่งเชิงพิเศษช่างทอชาวบ้านเรียก ลายอินเดียเข้ม

บทความอื่น ๆ

ชุดไทยประยุกต์_cover

ชุดไทยประยุกต์ และ 5 ข้อดีที่คุณคาดไม่ถึงเมื่อได้สวมใส่

ใครว่าการสวมใส่ชุดไทยนั้นดูเชยและไม่ทันสมัยคงต้องเปลี่ยนความคิดแล้วล่ะค่ะ เพราะเดี๋ยวนี้ชุดไทยถูกนำมาประยุกต์ให้สามารถสวมใส่ได้จริงในชีวิตประจำวันแถมยังสามารถนำไปมิกซ์เแอนด์แมทช์กับไอเท็มชิ้นโปรดในตู้เสื้อผ้าของคุณให้ลุคหลากหลายที่สามารถสวมใส่ได้ในหลายโอกาสอีกด้วย แต่สำหรับใครที่ยังนึกไม่ออกครั้งนี้เราขอพาทุกคนมาเช็กไอเดียการสวมใส่ ชุดไทยประยุกต์ ให้ดูทันสมัย พร้อมเหตุผลดีๆ ที่คุณควรหยิบจับชุดไทยประยุกต์มาสวมใส่ในชีวิตประจำวัน เชื่อเถอะว่าคุณจะได้สวมใส่เสื้อผ้าในชีวิตประจำวันให้ได้ลุคที่เก๋และไม่เหมือนใครอย่างแน่นอน ชุดไทยประยุกต์ นั้นได้รับการดัดแปลงมาจากชุดไทยที่เราคนไทยรู้จักและเคยได้ยิน ประยุกต์เพื่อให้ตามสมัยนิยมในปัจจุบัน หรือเป็นการประยุกต์และแก้ไขส่วนต่างๆ ของชุดไทยแต่ละแบบอย่างละเล็ก อย่างละน้อยให้มีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้นด้วยดีไซน์ เนื้อผ้าและสีสัน ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่มีรูปแบบตายตัว หากแต่ยังคงไว้ด้วยชั้นเชิงของรูปแบบของชุดไทยดั้งเดิมที่เรายังสามารถสัมผัสได้ถึงรูปแบบที่งดงาม สื่อสารถึงความเป็นไทยเมื่อได้สวมใส่ และการได้สวมใส่ชุดไทยประยุกต์ที่ยังคงกลิ่นอายของความเป็นไทยอยู่นั้นถือเป็นการส่งผ่านทางวัฒนธรรมและคงไว้ซึ่งความเป็นไทยที่ถูกดัดแปลงให้เหมาะสมตามยุคสมัยได้อีกด้วย หากคุณยังนึกภาพไม่ออก นี่คือ 5 ข้อดีที่คุณอาจคาดไม่ถึงเมื่อคุณได้สวมใส่ชุดไทยประยุกต์ ที่อาจทำให้คุณเผลอหลงรักรูปแบบการแต่งกายนี้แบบไม่รู้ตัว ชุดไทยประยุกต์เก๋ๆ

อ่านต่อ ...

เปิดบ้าน “ดุสิตธานี” บ้านสีขาวแสนสวยอายุร้อยปีบนถนนศาลาแดง

ไม่ว่าคุณจะเป็นแฟนคลับโรงแรมดุสิตธานีหรือไม่ ข่าวการเปิด ‘บ้านดุสิตธานี’ พื้นที่ใหม่ในบ้านหลังเก่าย่านศาลาแดงน่าจะทำให้ชาวกรุงเทพฯ ดีใจมาก จู่ๆ กลางย่านธุรกิจก็ปรากฏพื้นที่สีเขียวแสนสวยไว้พักผ่อนหย่อนใจ พร้อมร้านอาหาร คาเฟ่ ฟลอร์เต้นรำ และบาร์สวยข้างสระว่ายน้ำเสร็จสรรพ แถมอยู่ห่างจากโรงแรมดุสิตธานีเดิมเพียงระยะเดินถึง มองเห็นยอดแหลมสีทองที่คุ้นเคยได้ถนัดตา บ้านสีขาวแสนสวยบนถนนศาลาแดงนี้เดิมชื่อ ‘บ้านศาลาแดง’ คุณสวัสดิ์ โอสถานุเคราะห์ ซื้อบ้านหลังนี้ต่อจากเศรษฐีชาวฮ่องกงในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านหลังนี้จึงมีอายุอย่างน้อยราวๆ 80 ปี ออกแบบเป็น Fachwerk House โดยสถาปนิกชาวเยอรมัน

อ่านต่อ ...
ชุดไทยบรมพิมาน-cover

ชุดไทยบรมพิมาน ชุดไทยชั้นสูง คุณค่าของความงามและโอกาสพิเศษในการสวมใส่

หนึ่งในชุดเจ้าสาวที่ได้รับความนิยมสวมใส่จากเจ้าสาวคือ ชุดไทยบรมพิมาน ซึ่งนับเป็นชุดไทยชั้นสูงที่มีประวัติความเป็นมา เรียบหรูและสง่างามเสริมให้เจ้าสาวสวยที่สุดในวันสำคัญ

อ่านต่อ ...

เปิดประวัติ “สวนสุนันทา” ที่แท้จริงไม่ใช่วัง เป็น “สวนในวัง”

เดินทางผ่านถนนราชสีมาในวันหนึ่ง บังเอิญได้เหลือบไปเห็นป้ายชื่อส่วนราชการแห่งหนึ่ง สลักไว้ว่า “กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย Department of Local Administration, Ministry of Interior (วังสวนสุนันทา)” โดยที่ตั้งของส่วนราชการแห่งนี้อยู่บริเวณติดกับสถาบันราชภัฏสวนดุสิต และสถาบันราชภัฏสวนสุนันทาในปัจจุบัน (ช่วงเวลาที่เผยแพร่บทความนี้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม คือ ธันวาคม 2546 – แอดมิน) เหตุที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึกสะดุดกับป้ายชื่อส่วนราชการดังกล่าว ก็ตรงที่วงเล็บไว้ว่า “วังสวนสุนันทา” เพราะเท่าที่ทราบมาพื้นที่ดังกล่าวไม่น่าจะเป็น “วัง” แต่อย่างใด หากแต่เป็นเพียง “สวน”

อ่านต่อ ...