ร้านชุดไทย พาหุรัตดอทคอม

!!!! ชุดไทยที่หายไป !!!! บอกเล่าเรื่องราวของปัจจัยที่มีผลต่อชุดไทย

!!!! ชุดไทยที่หายไป !!!! บอกเล่าเรื่องราวของปัจจัยที่มีผลต่อชุดไทย

หากใครสักคนจะใส่ชุดโจงกระเบนห่มผ้าสไบเฉียงออกไปเดินช๊อปปิ้ง Paragon สยามสแควร์ หรือใส่ออกไปขึ้นรถเมลล์ไปทำงาน คงต้องใช้ความกล้าและความมั่นใจมหาศาลแน่ๆ
 และสิ่งที่คุณจะต้องประสบคือสายตาของคนรอบข้างที่จะมีทั้งชื่นชมและไม่ชื่นชมอาจถึงขั้นถูกมองเป็นตัวประหลาด 
นั้นเพราะชุดไทยในปัจจุบันนั้นแทบจะไม่ถูกใช้เป็นเครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันของคนไทย(โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ) เกิดจากเหตุผลหลักๆสองประการ

1.อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้ามามีผลกับคนไทย
2.การสะดุดทางวัฒนะธรรมครั้งใหญ่ของไทยในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยจอมพล ป.

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นผู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ประเพณี และการใช้ชีวิตของคนไทยอย่างมากให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อให้เกิดความทันสมัย
หากจะย้อนกลับไปในช่วงเวลานั้น สภาพบ้านเมืองของไทยหากเปรียบเทียบกับชาติตะวันตกประเทศสยามยังดูล้าหลังอยู่มาก ดังนั้นในยุคที่จอมพล ป.เป็นนายกรัฐมนตรีจึงมีนโนบายสำคัญที่คือ การมุ่งพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย “รัฐนิยม” หลายอย่างซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฏหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียบประเพณีอย่างรุนแรง เพื่อทำให้ประเทศดูมีอารยมากขึ้นมีการจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยเสียใหม่ให้เป็นแบบอารยประเทศ

– เช่น การรำวง,ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย
– เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม”เป็น”ไทย”
– ใช้คำว่าไทย กับคนไทย และสัญชาติไทย
– เปลี่ยน “เพลงชาติไทย” มาเป็นอย่างที่ใช้ในปัจจุบัน
– มีคำขวัญ “เชื่อผู้นำพ้นภัย” หรือ “ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย” และ “ไทยอยู่คู่ฟ้า”
– กำหนดวันที่ 24 มิ.ย. ซึ่งตรงกับวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น “วันชาติไทย” เริ่มปี 2482
– เปลี่ยนวันปีใหม่จาก 1 เมษายนเป็นวันที่ 1 มกราคม ทำให้ในปี พ.ศ.2483 ของไทยมีแค่ 9 เดือน
– ให้ยืนเคารพธงชาติพร้อมกันทั่วประเทศ 8:00น.และขักธงชาติลง 18:00 น.
– ข้าราชการแต่งเครื่องแบบ
– ราษฏรทั่วไปผู้ชายสวมเสื้อคอปิด นุ่งกางเกงขายาว สวมหมวกปีก สวมถุงเท้า รองเท้า (ในสมัยนั้นคนไทยผู้ชายมักไม่ใส่เสื้อ นอกจากผู้มีฐานะหรือผู้มีการศึกษา)
– ผู้หญิง สวมเสื้อนอกคลุมไหล่ นุ่งผ้าถุง ห้ามนุ่งโจงกระเบน (ขณะนั้นผู้หญิงมักสวมผ้าแถมคาดอก เวลาออกจากบ้านอาจมีการใช้สไบพันเพิ่มคุลมไหล่ไว้ข้างหนึ่ง และนุ่งโจงกระเบน)
– หากผู้หญิงคนใดไม่ใส่หมวกออกจากบ้านจะถูกตำรวจจับและปรับ
– การแต่งกายไว้ทุกข์ในงานศพ ผู้ชายใช้เสื้อสีขาว กางเกงขายาวขาว ผ้าผูกคอสีดำที่แขนเสื้อด้านซ้ายสวมรองเท้าดำ ถุงเท้าดำ ผู้หญิงให้แต่งชุดดำล้วน
– การรับประทานให้ใช้ช้อนซ้อมแทนการใช้มือเปิบ
– ห้ามกินหมากโดยเด็ดขาด
– งดใช้พยัญชนะ 13 ตัวที่ออกเสียงซ้ำซ้อนกันเพื่อให้ภาษาไทยง่ายต่อการเรียนรู้และเข้าใจสำหรับคนต่างชาติมากขึ้น พยัญชนะเหล่านั้นได้แก่ ฃ ฅฒ ญ ฏ ฎ ฐ ฑ ฌ ศ ษ ฬ ตัดสระออก 5 ตัว ฤ ฤา ฦา ใ แต่ในสมัยนายกรัฐมนตรีท่านต่อมาก็ได้นำกลับมาใช้ใหม่ทั้งหมด
– ยกเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน ให้ใช้ชื่อนามสกุลแทน
– การตั้งชื่อบุคคลต้องให้เหมาะสมกับเพศ และมีความยาวไม่เกินสามพยางค์
– ให้ข้าราชการกล่าวคำว่า “สวัสดี” ในโอกาสแรกที่พบกัน
– มีการวางระเบียบในการใช้คำแทนชื่อเป็นมาตราฐานได้แก่ ฉัน ท่าน เรา

จากการมุ่งพัฒนาประเทศในแนวทางนี้ทำให้ “ไทย” พัฒนาเจริญมาสู่ปัจจุบัน การได้มาซึ่งสิ่งหนึ่งย่อมต้องแลกมาด้วยอีกสิ่งหนึ่ง โจงกระเบน ผ้าแถบ และเครื่องแต่งกายของคนไทยหลากหลายแบบก็ได้หายไปจากสังคมไทย มากไปกว่านั้นยังได้สร้างรอยในจิตใต้สำนึกของคนรุ่นต่อๆมา 
ทำให้รู้สึกว่าชุดไทยและวัฒนธรรมแบบไทยๆเป็นเรื่องล้าหลังเป็นเรื่องไม่ทันสมัยและ “เชย” คนไทยในปัจจุบันจึงไม่นิยมใส่ชุดไทยในชีวิตประจำวันไม่เหมือน กิโมโน (kimono)ของประเทศญี่ปุ่น ที่คนญี่ปุ่นทุกวัยสามารถสวมใส่ใช้ในชีวิตปกติได้แฟชั่นยุคใหม่สามารถอยู่ร่วมกับชุดประจำชาติในแบบดั้งเดิม 
หรือเหมือนชุดอ่าวหญ่าย (Ao dai) ที่เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนาม ที่ปัจจุบันก็ยังใช้สวมใส่ได้จริงและเป็นที่นิยม

ในความรู้สึกส่วนตัวของผม ผมเชื่อว่ามีคนอีกไม่น้อยที่หลงใหลในเสน่ห์ของมรดกทางวัฒนธรรมนี้เหมือนผม และพร้อมจะช่วยผลักดันให้ชุดไทยกลับมาสวมใส่ได้จริงในสังคม คงต้องใช้แรง เวลา และความร่วมมือจากคนมากมายหากจะให้ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้จริง
 ทั้งฝั่งผู้ผลิตชุดไทยต้องสามารถปรับให้ชุดไทยเหมาะกับการใช้งานจริงมากขึ้น รัฐบาลและกลุ่มต่างๆเพื่อสร้างค่านิยมใหม่ในสังคม และส่วนสำคัญที่สุดคือฝั่งประชาชนคนไทยนี่แหละ ที่จะเป็นผู้หยิบเสื้อผ้าเหล่านี้ขึ้นมาสวมใส่ ผมเองในฐานะคนเล็กๆคนนึงที่ทำชุดไทย 
ที่เกิดมาก็ได้เห็นผ้าไทย ที่กิจกรรมวัยเด็กในวันหยุดคือการช่วยคุณทวดปักสไบชุดไทย ผมจะยังคงนำเสนอชุดไทยในรูปแบบต่างๆต่อไป ทั้งแบบดั้งเดิมและในแบบที่ปรับให้เหมาะกับยุคสมัยมากขึ้น เพื่อพลักดันให้ชุดไทยถูกกลับมาสวมใส่โดย”คนไทย”มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

เขียนไว้เมื่อวันที่ 14.10.2014

บทความอื่น ๆ

ชุดไทยพระราชนิยม

๘ ชุดไทย ที่ควรรู้จักไว้อย่างยิ่ง

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชนิยมเรื่องการใช้ผ้าไทยมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาฯ ประกาศหมั้น ครั้งนั้นได้มี นักหนังสือพิมพ์ชาวต่างประเทศ ขอสัมภาษณ์ซึ่งพระองค์ได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะสนับสนุน และ ส่งเสริมการแต่งกายที่เป็นแบบไทย เมื่อพระองค์ยังเป็นพระคู่หมั้น ได้ใช้ผ้าไทย และ ซิ่นไทย ส่วนชุดในพระราชพิธี อภิเษกสมรสได้ใช้ชุดที่ตัดเย็บด้วยผ้าไทย เมื่อพระราชพิธีได้ผ่านไปแล้วพระองค์ได้ทรงปฏิบัติตามพระราชปณิธานดังกล่าวต่อมา และได้มีเครื่องแต่งกายแบบไทยตามพระราชนิยมขึ้น ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ทางการแต่งกายประจำชาติมาจนทุกวันนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

อ่านต่อ ...

‘ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

‘ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ’ลายพระราชทานที่เปี่ยมความหมาย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงออกแบบลายมัดหมี่พระราชทานช่างทอผ้า ชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ส่งมอบความรัก ความสุข ให้ชาวไทยทุกคน พร้อมพระราชทานพระอนุญาตให้กลุ่มทอผ้านำไปเป็นต้นแบบพัฒนาต่อยอดไปสู่เครื่องแต่งกาย เครื่อง ประดับ ตามวิถีเอกลักษณ์ประจำถิ่น โดยเน้นการใช้สีธรรมชาติเพื่อให้รายได้กลับสู่ชุมชนเศรษฐกิจฐานราก กระตุ้นผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล เป็นที่นิยมในทุกเพศ ทุกวัย และทุกโอกาส โดยความหมายของ “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ลาย S หมายถึง Sirivannavari

อ่านต่อ ...

เผยที่มา ฉลองพระองค์ชุดไทยผ้าไหมของพระบรมวงศานุวงศ์…ทอจากมือด้วยความภักดี…

เผยที่มา ฉลองพระองค์ชุดไหมของพระบรมวงศานุวงศ์…ทอจากมือด้วยความภักดี…ทอโดยกลุ่มทอผ้าจันทรโสมา นับเป็นพระราชพิธีประวัติศาสตร์ที่ตราตรึงใจปวงชนชาวไทย สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่การจัดงานล้วนมีความวิจิตร ตระการตา มีการตกแต่งประดับประดาทุก ๆ รายละเอียดโดยถอดมาจากพระราชพิธีครั้งโบราณ ทำให้เราชาวไทยมีบุญตาได้เห็นพระราชพิธีเก่าแก่           และแน่นอนว่าพระราชพิธีสำคัญเช่นนี้ ต้องใช้ความละเอียดทุกอณูตั้งแต่การจัดเตรียมสถานที่ ไปจนถึงฉลองพระองค์ของพระบรมวงศานุวงศ์ ที่มีความวิจิตรงดงาม สีสันสดใส ซึ่งเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2562 เว็บไซต์ อีจัน ได้เผยเรื่องราวที่มาของผ้าไทยที่ถูกนำมาตัดเป็นฉลองพระองค์

อ่านต่อ ...

เปิดบ้าน “ดุสิตธานี” บ้านสีขาวแสนสวยอายุร้อยปีบนถนนศาลาแดง

ไม่ว่าคุณจะเป็นแฟนคลับโรงแรมดุสิตธานีหรือไม่ ข่าวการเปิด ‘บ้านดุสิตธานี’ พื้นที่ใหม่ในบ้านหลังเก่าย่านศาลาแดงน่าจะทำให้ชาวกรุงเทพฯ ดีใจมาก จู่ๆ กลางย่านธุรกิจก็ปรากฏพื้นที่สีเขียวแสนสวยไว้พักผ่อนหย่อนใจ พร้อมร้านอาหาร คาเฟ่ ฟลอร์เต้นรำ และบาร์สวยข้างสระว่ายน้ำเสร็จสรรพ แถมอยู่ห่างจากโรงแรมดุสิตธานีเดิมเพียงระยะเดินถึง มองเห็นยอดแหลมสีทองที่คุ้นเคยได้ถนัดตา บ้านสีขาวแสนสวยบนถนนศาลาแดงนี้เดิมชื่อ ‘บ้านศาลาแดง’ คุณสวัสดิ์ โอสถานุเคราะห์ ซื้อบ้านหลังนี้ต่อจากเศรษฐีชาวฮ่องกงในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านหลังนี้จึงมีอายุอย่างน้อยราวๆ 80 ปี ออกแบบเป็น Fachwerk House โดยสถาปนิกชาวเยอรมัน

อ่านต่อ ...