ร้านชุดไทย พาหุรัตดอทคอม

แต่งกายแบบไหน ที่ว่าใช่สาวชาววัง? สาวชาววังนั้นเป็นผู้นำทางด้านความงามและการแต่งกาย

แต่งกายแบบไหน ที่ว่าใช่สาวชาววัง? สาวชาววังนั้นเป็นผู้นำทางด้านความงามและการแต่งกาย

แต่งกายแบบไหน ที่ว่าใช่สาวชาววัง?
How the court ladies were dressed? 

สาวชาววังนั้นล้วนได้ชื่อว่าเป็นผู้นำทางด้านความงามและการแต่งกาย กิตติศัพท์นี้ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆนะคะ มีเบื้องหลังอยู่ คือ ความอุตสาหะพยายามและความชาญฉลาดในการคิดค้นเครื่องแต่งกายที่เหมาะกับยุคสมัย
การประดับตกแต่งที่ใช้ทั้งความคิดสร้างสรรค์ ฝีมือ เวลา และความทุ่มเทในการทำความสะอาดและเก็บรักษาผ้า ให้เรียบเป็นมัน มีจีบที่สวยคม

เอกลักษณ์หลักที่ว่าใช่สาวชาวังแน่ๆ จะมีอะไร มาดูกันเลยค่ะ ???????? 

เอกลักษณ์ที่สำคัญที่สุด คือ กลิ่นหอมที่กำจายไปไกลถึงขนาดมีคำกล่าวว่าสาววังเมื่อนั่งลงที่ไหนก็จะ
“หอมติดกระดาน”
แต่กว่าผ้าจะออกมาหอมทนนานขนาดนั้นต้องผ่านกระบวนการที่เรียกว่า
.
“การร่ำผ้า” คือการอบหรือปรุงผ้าให้มีกลิ่นหอม โดยใช้วิธีนำผ้าใส่ในโถหรือหีบทึบที่ปิดแน่นสนิท แล้ว “ร่ำ”
.
การร่ำผ้านี้ทำได้หลายวิธี ทั้งร่ำด้วยควันเทียน ร่ำดอกไม้สด และร่ำด้วยน้ำปรุง ร่ำจนกลิ่นกำซาบเข้าเนื้อผ้า ร่ำเสร็จแล้วจึงนำไปรีดให้เรียบหรืออัดจีบเป็นสไบให้สวยงามตามต้องการ เมื่อเสร็จสรรพพร้อมใช้จึงนำไปเก็บไว้ในหีบซึ่งภายในบรรจุดอกไม้สดหอมเพื่อให้กลิ่นหอมติดทนนานจนกว่าจะนำผ้าออกมาใช้ค่ะ

นอกจากนี้สาวชาววังยังมี ระเบียบในการแต่งกายโดยใช้สีผ้านุ่งผ้าห่มเข้ากัน ตามวันตลอด 7 วัน 
หรือที่เรียกกันว่า “สวัสดิรักษา” 
.
การนุ่งห่มสีตามวันนี้เพื่อเป็นมงคลและถือเป็นธรรมเนียมของสาวชาววังเลยล่ะค่ะ
.
– วันจันทร์ นุ่งเหลืองอ่อนห่มน้ำเงิน หรือห่มบานเย็น หรือ นุ่งน้ำเงินนำพิราบห่มจำปาแดง
– วันอังคาร นุ่งสีปูน (ปูนแดงกินกับหมาก) หรือม่วงเม็ดมะปราง ห่มโศก (สีใบอ่อนต้นอโศก) หรือนุ่งโศก/เขียวอ่อน ห่มม่วงอ่อน
– วันพุธ นุ่งสีถั่วหรือสีเหล็ก ห่มจำปา
– วันพฤหัสบดี นุ่งเขียวใบไม้ ห่มแดงเลือดนก หรือ นุ่งแสดห่มเขียวอ่อน
– วันศุกร์ นุ่งน้ำเงินแก่ห่มเหลือง 
– วันเสาร์ นุ่งเม็ดมะปราง ห่มโศก หรือนุ่งผ้าลายพื้นม่วงห่มโศกเหมือนกัน 
– วันอาทิตย์ นุ่งห่มเหมือนวันพฤหัสได้ หรือ นุ่งเขียวห่มแดง หรือ นุ่งผ้าลายพื้นสีลิ้นจี่หรือเลือดหมูห่มโศก
.
การนุ่งห่มเพื่อไว้ทุกข์
– นุ่งผ้าลายพื้นม่วง ห่มผ้าสีนวล 

———————-
ข้อมูล 
– นิทรรศรัตนโกสินทร์
– พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

บทความอื่น ๆ

ชุดไทยทำบุญ-cover (1)

ชุดไทยทำบุญ 2 ไอเดียที่คุณสามารถแต่งตามได้ง่ายๆ

ชุดไทยทำบุญ ที่ได้รับความนิยมสวมใส่นั้นโดยมากจะปรากฏเป็นชุดไทยพระราชนิยม 2 แบบคือ ชุดไทยจิตรลดา และชุดไทยเรือนต้น ที่สามารถสวมใส่ได้ง่าย เหมาะกับวาระสำคัญ

อ่านต่อ ...

เปิดประวัติ “สวนสุนันทา” ที่แท้จริงไม่ใช่วัง เป็น “สวนในวัง”

เดินทางผ่านถนนราชสีมาในวันหนึ่ง บังเอิญได้เหลือบไปเห็นป้ายชื่อส่วนราชการแห่งหนึ่ง สลักไว้ว่า “กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย Department of Local Administration, Ministry of Interior (วังสวนสุนันทา)” โดยที่ตั้งของส่วนราชการแห่งนี้อยู่บริเวณติดกับสถาบันราชภัฏสวนดุสิต และสถาบันราชภัฏสวนสุนันทาในปัจจุบัน (ช่วงเวลาที่เผยแพร่บทความนี้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม คือ ธันวาคม 2546 – แอดมิน) เหตุที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึกสะดุดกับป้ายชื่อส่วนราชการดังกล่าว ก็ตรงที่วงเล็บไว้ว่า “วังสวนสุนันทา” เพราะเท่าที่ทราบมาพื้นที่ดังกล่าวไม่น่าจะเป็น “วัง” แต่อย่างใด หากแต่เป็นเพียง “สวน”

อ่านต่อ ...
ชุดไทยยูนิฟอร์ม-cover

ชุดไทยยูนิฟอร์ม ชูจุดเด่นความเป็นไทย ส่งเสริมภาพลักษณ์ธุรกิจบริการ

หากจะกล่าวถึงธุรกิจภาคบริการแล้ว นอกจากองค์ประกอบหลักที่ทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการให้ความเชื่อถือแล้วนั้น ชุดยูนิฟอร์มก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะไม่ว่าจะเป็นการดีไซน์ การตัดเย็บ หรือสีสัน ก็ล้วนแล้วแต่สร้างความประทับใจแรกให้กับผู้ใช้บริการได้ทั้งสิ้น

อ่านต่อ ...